ทำไมโรคระบาดรุนแรง มักมาจาก “ค้างคาว” มากกว่าสัตว์ชนิดอื่น-

โลกของเราเต็มไปด้วยโรคจากสัตว์สู่คน (Zoonosis) หรือการที่เชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือปรสิต ทิ่อยู่ในสัตว์ชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม“กระโดดข้าม” มายังมนุษย์ ผ่านการสัมผัสหรือการหายใจ

โรคที่มาจากสัตว์มีความสามารถในการระบาดและระดับความอันตรายแตกต่างกันไป แต่ที่น่าสนใจคือ โรคที่ระบาดมาจากกลุ่ม “ค้างคาว” ดูเหมือนจะมีความสามารถในการระบาดและรุนแรงเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็น ซาร์ส (SARS), เมอร์ส (MERS), ไวรัสนิปาห์ (Nipah) หรือแม้แต่โควิด-19 ก็สันนิษฐานว่าอาจมาจากค้างคาว

หนังสือชีวประวัติเผย “อีลอน มัสก์” เคยแอบตัดการสื่อสารยูเครน

ส่องบาร์สุดเก๋ในดูไบ เสิร์ฟน้ำแร่ 30 รสชาติ

นักวิทย์พบ “ฟองกาแล็กซี” คาดเป็นฟอสซิลที่เหลือจาก “บิ๊กแบง”

นั่นทำให้นักวิทยาศาสตร์เกิดความสงสัยว่า ทำไมโรคระบาดที่น่ากลัวหรือมีความรุนแรง จึงมักมาจากค้างคาวมากกว่าสัตว์ชนิดอื่น

ทีมนักชีววิทยาและนักวิวัฒนาการจากมหาวิทยาลัยชิคาโก มหาวิทยาลัยยอร์ก มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ และมหาวิทยาลัยเอ็กซิเตอร์ จึงได้ทำการศึกษาหาคำตอบ โดยใช้ข้อมูลจากความพยายามในการวิจัยที่ผ่านมาในอดีต เพื่อจำลองการเติบโตของไวรัสในประชากรค้างคาว รวมถึงการแพร่กระจายของไวรัสไปยังสัตว์อื่น ๆ

จากความพยายามในการนำผลการวิจัยก่อนหน้านี้ มาศึกษาร่วมกับคณิตศาสตร์และการสร้างแบบจำลอง พวกเขาพบว่า สาเหตุที่น่าจะเป็นได้ ว่าทำไมไวรัสจากค้างคาวถึงรุนแรงกว่าเพื่อน อาจเป็นเพราะ “ค้างคาวมีความอดทนโดยธรรมชาติต่อการอักเสบต่าง ๆ“ ซึ่งเกิดขึ้นจาก “ความสามารถในการบิน”

เพื่อสรุปผลนี้ ทีมวิจัยได้ศึกษาข้อมูลจากการศึกษาอื่น ๆ เกี่ยวกับผลกระทบของไวรัสหลายชนิดต่อระบบภูมิคุ้มกันของค้างคาวที่แพร่ระบาดสู่มนุษย์ด้วย จากนั้นพวกเขาใช้ข้อมูลนั้นในแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อแสดงให้เห็นว่า ไวรัสมีโอกาสในการอยู่รอดได้อย่างไร โดยการแพร่กระจายจากโฮสต์หนึ่งไปยังอีกโฮสต์ก่อนที่โฮสต์จะตาย โดยสร้างสมดุลระหว่างการแพร่เชื้อที่ได้รับกับระดับของความรุนแรง

พวกเขาพบว่า ลักษณะสำคัญทางสรีรวิทยาของค้างคาวคือความสามารถในการบิน มีความสัมพันธ์กับความทนทานต่อการอักเสบ สิ่งนี้เกี่ยวข้องกัน เพราะมันทำให้ค้างคาวทนทานต่อไวรัสมากขึ้นเมื่อติดเชื้อ ซึ่งส่งผลให้ไวรัสมีอัตราการเติบโตสูง

นักวิจัยชี้ให้เห็นว่า ที่ไวรัสชนิดเดียวกันในค้างคาว เมื่อมาอยู่ในมนุษย์แล้วอันตรายถึงชีวิตมากกว่านั้น ก็เป็นเพราะเรามีความทนทานต่อการอักเสบน้อยกว่า ความทนทานที่ต่ำจะนำไปสู่อาการป่วยที่ร้ายแรงมากขึ้น

อ่านงานวิจัยฉบับเต็ม ที่นี่

เรียบเรียงจาก Phys.org

ภาพจาก Biju BORO / AFPคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

 ทำไมโรคระบาดรุนแรง มักมาจาก “ค้างคาว” มากกว่าสัตว์ชนิดอื่น-

You May Also Like

More From Author