นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือ เครดิตบูโร กล่าวถึงภาพรวมสถานการณ์หนี้ครัวเรือนไทยในไตรมาส 1 ปี 2566 ที่อยู่ที่ 15 ล้านล้านบาท ยังคงน่าเป็นห่วง ท่ามกลางช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น เศรษฐกิจฟื้นตัวไม่ทั่วถึง สินค้าปรับราคาแพงขึ้น ไม่สมดุลกับค่าแรงที่ยังอยู่ในระดับต่ำ และหากมองภาพใหญ่แม้หนี้เสีย หรือ NPL จะลดลงเพราะมีการเข้าสู่มาตรการปรับโครงสร้างหนี้-ขายหนี้ แต่หนี้หนี้ค้างชำระไม่เกิน 90 วัน หรือ SM
“หยก” โพสต์แจง 5 ข้อ ยันไม่ได้ดื้อ แต่สิ่งที่ทำอยู่ใน รร.ไม่ปกติ
ผู้การฯชลบุรี ยันไม่ได้พูด “เป้รักผู้การเท่าไหร่ เป้เขียนมา”
โดยกลุ่มนี้มีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นหนี้เสีย กลับเพิ่มขึ้น และมีการเพิ่มสัดส่วนขึ้นในสินเชื่อ ประเภท สินเชื่อบ้าน และ รถยนต์ จึงเป็นเรื่องที่น่ากังวลคำพูดจาก นสล็อตออนไลน์
โดยในช่วงภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นแบบนี้ หากธนาคารพาณิชย์ ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่ม 25 สตางค์ นั่นหมายถึง ลูกหนี้ต้องผ่อนบ้านเพิ่มขึ้นเป็นหลัก 1,000 บาท
ที่ผ่านมาในการประชุม คณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 1.75 เป็นร้อยละ 2.00 ต่อปี โดยให้มีผลทันที นั่นทำให้ในช่วง2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์และแบงก์รัฐ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
ยกตัวอย่าง ธนาคารกรุงเทพ นำร่อง ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้รายย่อยชั้นดี หรือ MRR อยู่ที่ร้อยละ 7.05 ต่อปี
ธนาคารกรุงไทย ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย MRR เพิ่มขึ้น 0.20% ต่อปี เป็น 7.320% ต่อปี ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. ปรับขึ้นดอกเบี้ย MRR เพิ่ม 0.10% เป็น 6.975% ต่อปี ธนาคารกสิกรไทย ปรับอัตราดอกเบี้ย MRR อยู่ที่ร้อยละ 7.05 ต่อปี และ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภท 0.25% ต่อปี ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย MRR อยู่ที่ 6.9 % ต่อปี อย่างไรก็ตาม ธนาคาร ส่วนใหญ่ยังปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ประเภทอื่นๆ และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากด้วย
ออกหมายจับพลเรือน 3 ราย ร่วมแก๊งตบทรัพย์เว็บพนัน 140 ล้าน “ต้น-บอย” เผ่นออกนอกประเทศ
ภรรยา “เอส กันตพงศ์” แจ้งครอบครัวเตรียมแถลงอาการ ขอทำทุกอย่างให้ดีที่สุด